top of page
Writer's picturesanpicturestalk

TEDxChiangMai เวทีจุดเริ่มต้นของ Pictures Talk สู่ปีที่ 8 กับการบันทึกประชุม 'Visual recording'


จุดเริ่มต้น Pictures Talk ขอย้อนไปถึง กพ. 2556 เริ่มทดลองเขียนบทความเป็น ภาพเล่าเรื่อง รายสัปดาห์ให้ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์วีคลี่ พี่โม่ง คุณภัทระ คำพิทักษ์ (FB : Pattara Khumphitak) บรรณาธิการข่าว ขณะนั้น เห็นดีเห็นงามด้วย และ งาน TEDx Chiang Mai ราว สค. 2556 ทีมงานอยากทำบันทึกเสวนาเป็นภาพ จากแรงบันดาลใจจาก TEDx Malaysia, คุณมาติน เฟนสกี้ สตาลลิ่ง (FB : Martin Venzky-Stalling) ผู้จัดงานบอกว่า อยากทำแบบนี้บ้างกับ

TEDx Chiang Mai 2013 ผมไม่รอช้า ขอทำโดยที่ยังไม่มีความรู้ ปีแรกผลงานเป็นมือสมัครเล่น แต่นับเป็นการจุดประกายสำคัญ ว่า ทำแล้วชอบ อยากทำอีก จากนั้น ตั้งใจศึกษาเพิ่มเติม อ่านหนังสือ ดูคลิป ไปฝึกกับสมาคม IFVP (International Forum of Visual Practitioners) ที่อเมริกา เผลอแป๊บเดียวก็ 8 ปี จน 27 พย. 2564 วันงาน TEDx Chiang Mai 2021 ที่ Pictures Talk ได้กลับมาที่จุดเริ่มต้น

สิ่งที่ต่างไป 3 ข้อ 1. ครั้งนี้มีการสร้าง Metaverse ในการเชื่อมโยงผู้คน แบบ Hybrid จัดงานในสถานที่จริง และ มีแพลตฟอร์มให้เชื่อมโยง ออนไลน์ ทั้ง Whova, Miro และ Mozilla Hub (Metaverse) พัฒนาโดย Cyrus James Khan นักพัฒนาเกมส์ และเป็น วิทยากร TEDx Chiang Mai

2. การบันทึกเสวนาเป็นภาพ มีความแพร่หลาย เป็นที่นิยมกับงานประชุมใหญ่ๆ มีนักบันทึกที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นไม่น้อย


สมาชิก Pictures Talk 2 ใน 3 คนได้มา Debut การทำงานจริงครั้งแรก คือ 1.) แซนดี้ (ธนพร สว่างเมือง) - MassComm ที่มี passion กับการวาดภาพ 2.) หญ้า แซ่ว้า - นักจิตวิทยา ที่สนใจการใช้ภาพสื่อสาร 3.) นัส (นัสรีน สรรเสริญ) - สถาปนิก ที่ย้ายขั้วจาก Cad มาจับ Procreate ทีมร่วมงานกันมายาวนาน มาเป็นพี่เลี้ยงในงานครั้งนี้

3. บันทึกเป็นภาพดิจิตอล ที่สะดวกสบายกว่าการวาดภาพใหญ่ๆด้วยมือบนโฟมบอร์ด เหมือนก่อนโควิด สิ่งที่เหมือนเดิม คือ แรงบันดาลใจ จากประสบการณ์ ความรู้ ความคิด ของวิทยากร 15 ท่าน 1. ทำให้ SDGs เป็นเครื่องมือของทุกคน โดย ผศ. ชล บุนนาค, ผู้อำนวยการ SDG Move



2. ผึ้ง จิ๋วแต่แจ๋ว โดย รศ.ดร.ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร, นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านผึ้ง และอาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



3. ขบวนการนักพิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดย ผศ. ดร. ว่าน วิริยา, ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่



4. ทางเลือกของมนุษยชาติ : การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์หรือความแตกแยก โดย Christopher Oestereich, Co - founder of the Circular Design Lab



5. RE-Togerther โดย คุณบฤงคพ วรอุไร, นักชาติพันธุ์วิทยาและนักแต่งเพลง



6. ไทย-พม่า ใกล้ชิดแต่ไม่สนิทกัน? โดย ดร.ลลิตา หาญวงษ์, อ.ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์



7. สร้างสังคมที่มีเหตุผลบนพื้นฐานของข้อมูล โดย คุณธนิสรา เรืองเดช, CEO & Co - founder Punch up



8. ชีวิตดีๆมีได้ด้วยศิลปะ โดย คุณเวลา อมตธรรมชาติ, ผู้อำนวยการเทศกาลศิลปะนานาชาติ Low Fat Art Fes



9. กลับบ้านเกิดมาทำเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน โดย คุณอภิศักดิ์ กำเพ็ญ, ตัวแทนคนรุ่นใหม่จากชุมชนแม่ทา



10. Blockchain, Art and the Metaverse โดย Cyrus James Khan, Digital artist & Game Development



11. คนสร้างดาวเทียม โดย ดร. พงศธร สายสุจริต, director and lecturer at InSTED King mongkut’s University of technology North Bangkok



12. A Corruption Game Changer โดย ผศ.ดร. ต่อภัสสร์ ยมนาค, อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , Co = founder HAND Social Enterprise



13. Spirit that is not Spirit โดย คุณภาคี ภู่ประดิษฐ์, Non - Alcoholic Mixologist



14. เมล็ดพันธุ์แห่งความหวัง โดย คุณบุญส่ง ธารศรีทอง, Program manager at EHCO asia foundation



15. โปรดระวังช่องว่างระหว่างวัย โดย คุณพริษฐ์ วัชรสินธุ, CEO of startdee



Pictures talk มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับ TEDXChiangmai และได้บันทึก Talk ของวิทยากรทั้ง 15 ทั้งที่มีเรื่องราวน่าสนใจหลากหลายประเด็นที่ได้แบ่งปันร่วมกันในงานนี้

---

Shift inner view through pictures บริษัท สาระภาพ จำกัด ช่วยให้ทุกการสื่อสารง่าย ด้วยความเชื่อว่า ภาพ เข้าใจง่าย, ดึงดูด และ เป็นสากล https://www.picturestalk.net https://www.facebook.com/Pictures-Talk-977760295636929 https://www.instagram.com/pictures_talk_visual/ https://www.linkedin.com/company/pictures-talk/ --- วันที่ : 27 พฤศจิกายน 64 Visual Recorder : ตุลย์ เล็กอุทัย, นัสรีน สรรเสริญ, หญ้า แซ่ว้า, ธนพร สว่างเมือง #อยากวาดได้แบบนี้มีคอร์สสอน #visualdoing #picturestalk #visualrecording #graphicrecording #visualstorytelling

33 views0 comments

Comments


bottom of page